สิวขึ้นบริเวณจมูก สามารถเกิดขึ้นได้มากกว่าในบริเวณส่วนอื่นๆ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิด สิว เหล่านี้ โดยวิธีการรักษาสิวที่ดี จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพผิวและชนิดของสิวที่เกิดขึ้น
สิวขึ้นจมูก เกิดจากอะไร?
1. สิ่งสกปรก ฝุ่นละอองสะสมในรูขุมขนที่บริเวณจมูก
2. ความมันบนใบหน้า เกิดขึ้นกับคนที่มีผิวหน้ามันหรือคนที่มีผิวผสม โดยเฉพาะความมันบริเวณที่เป็นทีโซน
3. รูขุมขนกว้างเกิดการอุดตัน ผู้ที่มีรูขุมขนกว้าง จะทำให้ผิวบริเวณจมูกอุดตันบริเวณต่อมได้ง่าย
4. ความเครียด เพราะยิ่งเครียด ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไปกระตุ้นต่อมไขมันที่ทำให้เกิดสิวบริเวณจมูกได้
สิวขึ้นจมูก มีกี่ประเภท
สิวขึ้นที่จมูก มีหลายประเภท ดังนี้
สิวอุดตัน
สิวที่จมูกแบบสิวอุดตัน หรือ สิวหัวดำ มีลักษณะเป็นไตเล็กๆ แข็งๆ เวลาลูบที่จมูกจะสัมผัสได้อย่างชัดเจน บีบออกได้ แต่ควรบีบออกอย่างถูกวิธี หรือให้ผู้ที่เชี่ยวชาญทำการบีบให้ เพราะบริเวณจมูกเป็นพื้นที่บอบบาง ทำให้เจ็บหรือเกิดรอยแดงจนรักษาให้หายยาก
สิวอักเสบที่ไม่มีหัว
สิวอักเสบไม่มีหัวที่จมูก มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง และเจ็บเมื่อสัมผัส สิวประเภทนี้มักเกิดจากเคราตินไขมันจากต่อมไขมันและเชื้อแบคทีเรียมาอุดตันที่รูขุมขน ทำให้เกิดอาการอักเสบและบวมแดงขึ้นได้ทั้งบริเวณข้างจมูก บนจมูก ใต้จมูก หากสิวที่จมูกมีขนาดใหญ่ อาจเรียกว่าเป็น สิวหัวช้าง
สิวเสี้ยน
สิวที่จมูกแบบสิวเสี้ยน ซึ่งสิวเสี้ยนนั้นไม่ใช่สิว เพราะเกิดจากการจับตัวกันระหว่างเส้นขนหรือรากเส้นขนหลายเส้นจับตัวกันกับเคราติน และอุดตันอยู่ภายในรูขุมขนจนเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ จุดดำๆ อยู่บริเวณจมูก
การวิธีรักษา สิวขึ้นจมูก
การดูแลรักษาสิวที่จมูก ขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของสิว และสภาพผิวหน้าของแต่ละคน หากมีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถรักษาสิวขึ้นที่จมูกด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้
วิธี 1 ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวชนิดทา
หากสิวที่จมูกมีอาการไม่รุนแรงมาก สำหรับยาทารักษาสิวที่นิยมใช้ ได้แก่ กรด AHA, กรด BHA, เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) และกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) เป็นต้น
วิธี 2 ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่จมูกชนิดรับประทาน
เหมาะกับลักษณะสิวที่มีอาการรุนแรง หรืออักเสบมากขึ้น สำหรับยารับประทานที่นิยมใช้ในการรักษาได้แก่ ยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) ออกฤทธิ์โดยการรักษารูขุมขนอักเสบจากแบคทีเรีย ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่เหมาะที่จะใช้ยาชนิดนี้ จึงควรใช้ยาชนิดนี้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ นอกจากนี้ยังมียาปฏิชีวนะ ตัวยาที่ใช้รักษาสิวที่จมูกกันอย่างแพร่หลาย ควรใช้ อิริโทรมัยซิน (Erythromycin) และ คลินดามัยซิน (Clindamycin) เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ร่วมกับ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เพื่อป้องกันอาการดื้อยา
วิธี 3 การฉีดหัวสิวที่จมูกออก
กรณีเป็นสิวแบบไม่มีหัว โดยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการรักษา
วิธี 4 การรักษาสิวที่จมูกโดยการปรับฮอร์โมน
ใช้เฉพาะกรณีที่สงสัยว่าเป็นสิวด้วยสาเหตุจากความผิดปกติของฮอร์โมน โดยผ่านการวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทางเรียบร้อยแล้ว
วิธีการรักษารอยแผลจากสิวที่จมูก
สิวที่จมูกหากปล่อยไว้นาน โดยดูแลสิวอาจอักเสบและเกิดรอยแผลเป็นได้ หากปล่อยทิ้งไว้การอักเสบอาจรุนแรงไปถึงชั้นผิวหนังแท้จนเกิดเป็นหลุมสิวได้ ซึ่งการรักษารอยแผลจากสิวที่จมูกมีวิธีดังนี้
วิธี 1 เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยนต่อผิวลดความมันบนใบหน้า
เพื่อลดโอกาสการเกิดสิวที่จมูก แนะนำ Eucerin Pro ACNE SOLUTION A.I. MATT FLUID มอยเจอร์ไรเซอร์ลดรอยสิว ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายและเป็นสิวง่าย ลดโอกาสการเกิดสิวอุดตัน และควบคุมความมันได้นานถึง 8 ชั่วโมง
วิธี 2 เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดเลือนจุดด่างดำจากสิว
แนะนำ Eucerin Pro ACNE SOLUTION ANTI-ACNE MARK ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ที่มีเนื้อเซรั่มสูตรเข้มข้น ลดรอยดำสิวฝังลึกด้วย Thiamidol สารไบรท์เทนนิ่งเอกสิทธิเฉพาะยูเซอริน ช่วยให้ผิวดูกระจ่างใส พร้อมทั้งลดโอกาสการเกิดสิวซ้ำ
วิธี 3 ปรึกษาแพทย์ด้านผิวหนัง
เพื่อทำการรักษารอยแผลเป็นจากสิว โดยอาจมีการรักษาได้หลายวิธี เช่น การเลเซอร์ การเติมคอลลาเจนให้ผิว รวมถึงการทำทรีตเมนต์ผลัดเซลล์ผิวเป็นต้น
Q&A ทำไมบีบสิวที่จมูกแล้วเจ็บกว่าบริเวณอื่น
เนื่องจากบริเวณรอบจมูก มีเยื่อบุต่อเนื่องเข้าไปภายในโพรงจมูก ซึ่งมีหลอดเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก หลอดเลือดดังกล่าวมีผลต่อดวงตาและสมอง หากเป็นสิวที่จมูกและเกิดการอักเสบ จึงอาจเกิดการแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่ร่างกายตามหลอดเลือด และอาจเข้าไปสู่เนื้อเยื่อโพรงจมูกส่วนลึกและสมองได้ เพราะฉะนั้นการบีบสิวบริเวณนี้จึงควรให้แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญทำการรักษา
สิวที่จมูก เป็นบริเวณที่สามารถพบเจอได้บ่อยไม่ต่างจากบริเวณอื่นๆ บนใบหน้า จึงควรให้ความสำคัญในการป้องกันการเกิดสิว และการดูแลสิวที่จมูกอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้สิวเกิดการอักเสบและรักษาได้ยากกว่าเดิม