โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา เกิดจากอะไร มารู้สาเหตุ อาการ และการรักษา

อ่านแล้ว 1 นาที
แสดงบทความเพิ่มเติม

โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการคันระคายเคืองตามผิวหนังทำให้รู้สึกไม่สบายตัว โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อราเกิดจากการดูแลสุขอนามัยที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อรา


โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา คืออะไร?

โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา (Dermatophytosis) คือ ปัญหาทางผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราหลากหลายสายพันธุ์ เชื้อราส่วนใหญ่มักอยู่ในสิ่งแวดดล้อมทั่วไปทั้ง ในดิน น้ำ ต้นไม้ รวมถึงสัตว์เลี้ยง และสิ่งของต่างๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำ เมื่อหากสัมผัสกับผิวหนังอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองผิว เมื่ออาการรุนแรงทำให้นำไปสู่ผิวหนังอักเสบได้


สาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา เกิดจากอะไร?

สาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบนั้น เกิดจากเชื้อราชนิดต่างๆ ซึ่งเชื้อราแต่ละชนิดจะทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบแตกต่างกันไป เช่น

  • เชื้อราไตรโครไฟตอน ไมโครสปอร์รัม (Trichophyton Microsporum) และเอพิเดอร์โมไฟตอน (Epidermophyton) ที่อาศัยอยู่ในเซลล์ชั้นนอกของผิวหนัง ทำให้เกิดกลาก สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คน และสัตว์สู่คนได้ นอกจากนี้ยังติดต่อจากการสัมผัสกับสิ่งรอบตัวที่ปนเปื้อนเชื้อรา เช่น ดิน ผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน แปรงหวีผม ได้เช่นกัน
    นอกจากนี้ เชื้อราชนิดนี้ ยังทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ ผิวลอก พุพอง เท้าแตก และมีอาการคันอีกด้วย
  • เชื้อราแคนดิดา (Candida) พบมากที่ช่องปาก ลำคอ ลำไส้ รวมถึงช่องคลอด หากติดเชื้อจะทำให้เกิดจุดสีขาวบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดานปากและลำคอ เกิดอาการแสบภายในช่องปากขณะรับประทานอาหาร
  • เชื้อราชนิด dermatophyte ทำให้เกิดโรคในบริเวณที่มีเคราตินได้แก่ ผิวหนังชั้นนอกสุด เส้นผมและเล็บ พบบ่อยในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น เช่น สระว่ายน้ำ ห้องน้ำ เป็นต้น หากเชื้อราเกิดขึ้นที่เล็บ ทำให้เล็บเปราะบาง แตกหักง่าย มีกลิ่นเหม็น รวมถึงเล็บอาจเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาล หรือขาว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

สาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบนั้น เกิดจากเชื้อราชนิดต่างๆ ซึ่งเชื้อราแต่ละชนิดจะทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบแตกต่างกันไป เช่น

  • เชื้อราไตรโครไฟตอน ไมโครสปอร์รัม (Trichophyton Microsporum) และเอพิเดอร์โมไฟตอน (Epidermophyton) ที่อาศัยอยู่ในเซลล์ชั้นนอกของผิวหนัง ทำให้เกิดกลาก สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คน และสัตว์สู่คนได้ นอกจากนี้ยังติดต่อจากการสัมผัสกับสิ่งรอบตัวที่ปนเปื้อนเชื้อรา เช่น ดิน ผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน แปรงหวีผม ได้เช่นกัน
    นอกจากนี้ เชื้อราชนิดนี้ ยังทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ ผิวลอก พุพอง เท้าแตก และมีอาการคันอีกด้วย
  • เชื้อราแคนดิดา (Candida) พบมากที่ช่องปาก ลำคอ ลำไส้ รวมถึงช่องคลอด หากติดเชื้อจะทำให้เกิดจุดสีขาวบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดานปากและลำคอ เกิดอาการแสบภายในช่องปากขณะรับประทานอาหาร
  • เชื้อราชนิด dermatophyte ทำให้เกิดโรคในบริเวณที่มีเคราตินได้แก่ ผิวหนังชั้นนอกสุด เส้นผมและเล็บ พบบ่อยในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น เช่น สระว่ายน้ำ ห้องน้ำ เป็นต้น หากเชื้อราเกิดขึ้นที่เล็บ ทำให้เล็บเปราะบาง แตกหักง่าย มีกลิ่นเหม็น รวมถึงเล็บอาจเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาล หรือขาว

วิธีการป้องกันและดูแลตัวเองจากโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

สำหรับการป้องการและดูแลตัวเองจากโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา ควรเน้นการรักษาความสะอาดและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้


ครีมอาบน้ำ สำหรับคนเป็นโรคผิวหนังอักเสบ

วิธีที่ 1 ทำความสะอาดร่างกายให้สะอาด

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว แนะนำ Eucerin pH5 WASH LOTION PERFUME FREE PARABEN FREE ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว ปราศจากน้ำหอม ที่มีส่วนผสมเฉพาะของ pH5 Enzyme protection นวัตกรรมเฉพาะจาก Eucerin ช่วยทำความสะอาดผิวได้อย่างอ่อนโยน เหมาะสำหรับผิวแห้ง บอบบาง แพ้ง่ายเป็นพิเศษ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคผิวหนังที่มีอากาศแห้ง แพ้ง่ายเป็นพิเศษ



วิธีที่ 2 เช็ดตัวให้แห้งหลังอาบน้ำ

ช่วยลดความอับชื้นที่อาจเป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา


ครีมทาผิวสำหรับผู้ที่คันจากเชื้อราผิวหนัง

วิธีที่ 3 บำรุงผิวให้แข็งแรง

เลือกใช้โลชั่นบำรุงผิวที่เหมาะกับสภาพผิว Eucerin pH5 DRY SENSITIVE SKIN HYDRO BOOST CREAM ตัวช่วยดูแลผิว เนื้อเจลครีมสูตรอ่อนโยน ที่ปกป้องผิวที่แห้ง ให้กลับมาชุ่มชื่นยาวนาน 24 ชั่วโมง ด้วย pH Balance System ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของยูเซอริน ช่วยปรับสมดุลสภาพแวดล้อมในเซลล์ให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ สุขภาพดี พร้อมบำรุงอย่างล้ำลึก ช่วยให้ผิวแข็งแรงมากขึ้น ผิวจึงไม่ไวต่อปัจจัยกระตุ้นต่างๆ พร้อมผสาน Dexpanthenol และ Seed Oil ที่ช่วยเติมความชุ่มชื้นให้ผิวทันที และคงความชุ่มชื้นยาวนานตลอดทั้งวัน สามารถทาบำรุงผิวกายเป็นประจำทุกวัน


วิธีที่ 4 สวมเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายและไม่ควรใส่เสื้อผ้าหลายชั้นในสภาพอากาศร้อน

เพราะการใส่เสื้อผ้าที่หนาหรือปิดทึบจนเกินไปอาจทำให้เหงื่อออกมากจนเกิดความอับชื้น


วิธีที่ 5 ควรล้างมือให้สะอาด

หลังจากสัมผัสกับสิ่งรอบตัว เช่น ประตู ราวจับบันได ดิน รวมถึงสัตว์เลี้ยง เป็นต้นโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อราสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย จึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง และสุขอนามัย รวมไปถึงการรักษาการติดเชื้อราอย่างถูกวิธี