เหงื่อออกเยอะ

เหงื่อออกเยอะ ผิดปกติอย่ามองข้าม

อ่านแล้ว 0 นาที
แสดงบทความเพิ่มเติม

คนที่มีอาการเหงื่ออกเยอะผิดปกติ ไม่ควรมองข้าม เพราะภาวะเหงื่อออกเยอะ หรือที่เรียกว่า (Hyperthidrosis) เป็นภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกมาตามผิวหนังมากกว่าปกติถึงแม้ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศที่ไม่ได้ร้อนมากก็ตาม ทำให้ขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันและอาจส่งผลเสียกับสุขภาพไปจนถึงผิวหนังอักเสบได้



เหงื่อออก และอาการเหงื่อออกเยอะมาก แตกต่างกันอย่างไร

ปกติแล้วร่างกายเราจะขับเหงื่อออกมาตามกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) เมื่อเราทำกิจกรรมต่างๆ แต่สำหรับคนที่มีภาวะเหงื่อออกเยอะมากผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณ มือ เท้า หรือ รักแร้ อาจจะเกิดจากอาการผิดปกติอื่นๆในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท หรือฮอร์โมนที่ไม่ปกติ


สาเหตุของภาวะเหงื่อออกเยอะผิดปกติ

สาเหตุที่ทำให้เหงื่อออกเยอะ ที่นอกเหนือไปจากการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น การออกกำลังกาย การทำงาน หรือสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว อาการเหงื่อออกเยอะมากผิดปกติสามารถแบ่งสาเหตุแต่ละประเภทได้ดังนี้

  1. กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน (Primary Hyperhidrosis) หรือเหงื่อออกมาชนิดปฐมภูมิกลุ่มนี้จะมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เกิดได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย โดยจะมีเหงื่อออกเฉพาะจุด เช่น ใบหน้า, ศีรษ,ะ รักแร้ และ ฝ่ามือ มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี หรือคนในครอบครัวก็มีภาวะนี้ได้เช่นกัน
  2. กลุ่มที่มีสาเหตุมาจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย (Secondary Hyperhidrosis) หรือเหงื่อออกมากชนิดทุติยภูมิ พบไม่บ่อยนัก มีสาเหตุมาจากโรค หรือภาวะอื่นๆ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ, เบาหวาน, วัยทอง, ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด, น้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น

สาเหตุของภาวะเหงื่อออกเยอะผิดปกติ

อาการของผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้

 

1. อาการของกลุ่มอาการที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน (Primary Hyperhidrosis)

กลุ่มนี้มักจะมีเหงื่อออกมากโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น หรือก็คืออยู่เฉยๆ ก็มีเหงื่อออกมาก และออกเวลาใด บริเวณหนึ่ง แต่มักจะออกมากในเวลากลางวัน โดยแพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ ผู้ป่วยจะต้องมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติ โดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือนขึ้นไป ต้องมีอาการดังต่อไปนี้

  • ตำแหน่งที่เหงื่อออกมากผิดปกติ จะต้องเป็นเหมือนกันทั้ง 2 ข้างของร่างกายทั้งซ้ายและขวา
  • อาการเหงื่อออกมากเกิดบ่อยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ส่วนมากผู้ป่วยก็จะมีอาการมากกว่านี้
  • เริ่มมีอาการเหงื่อออกตั้งแต่เริ่มตื่นนอน
  • อาการเหงื่อออกง่ายจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

 

2. อาการกลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะผิดปกติในร่างกาย (Secondary Hyperhidrosis)

ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีเหงื่อในปริมาณมาก โดยเหงื่อจะออกทั่วร่างกาย แม้กระทั่งในเวลานอน โดยอาการเหงื่อออกเยอะอาจจะเป็นสัญญาณบอกถึงโรคบางอย่าง เช่น กลุ่มโรคที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่สมอง ส่วนไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาท ช่วยควบคุมการสร้างฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง และยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อทำงานผิดปกติ และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยดังนี้

  • ปวดศีรษะ มีไข้
  • คลื่นไส้ น้ำหนักลด
  • หายใจไม่อิ่ม หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • ซึมเศร้า หลีกหนีสังคม

แพ้เหงื่อ

อาการแพ้เหงื่อเป็นอันตรายต่อผิว

เหงื่อออกเยอะเป็นสาเหตุของการแพ้เหงื่อซึ่งเป็นอันตรายต่อผิว และอาจทำให้เกิดผื่นแพ้เหงื่อได้ และยังสามารถนำไปสู่โรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis) ที่แสดงออกมาในรูปแบบภูมิแพ้ผื่นคัน บางรายอาจมีลมพิษเรื้อรัง หอบหืด และคัดจมูก ร่วมด้วย ซึ่งจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • อาการที่แสดงออกพบมากบริเวณซอกพับ เช่น ลำคอ ตามข้อพับต่างๆ
  • คันมากขึ้นในช่วงที่เหงื่อออก
  • พบผื่นแดงหรือตุ่มใสๆ บริเวณผิวหนัง

การรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผู้ป่วยมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ หากเกิดจากภาวะผิดปกติในร่างกาย คือกลุ่ม Secondary Hyperhidrosis ต้องรักษาไปตามโรคที่เป็น แต่หากเกิดจากกลุ่ม Primary Hyperhidrosis ซึ่งหาสาเหตุไม่ได้ จะมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

 

วิธี 1 การใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ

ผู้ป่วยต้องทายาก่อนนอนในบริเวณที่เหงื่อออกมากแล้วล้างออกตอนเช้า โดยต้องระวังไม่ให้ยาเข้าตา หากผู้ป่วยรู้สึกระคายเคืองที่ผิวหนัง อาจต้องใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนทาเพื่อช่วยบรรเทาอาการด้วย

 

วิธี 2 การทายา หรือสารระงับเหงื่อ

ตัวยาต้องมีส่วนผสมของอลูมิเนียมคลอไรด์ ซึ่งมีการออกฤทธิ์ทำให้โปรตีนในผิวหนังตกตะกอน โดยสารจะซึมเข้าไปสู่รูต่อมเหงื่อ เกลืออลูมิเนียมจะเข้าเกาะติดในรูต่อมเหงื่อจนทำให้รูอุดตัน และปิดกั้นทางออกของเหงื่อไว้ สามารถทาได้ทั้งบริเวณ ไรผม รักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า โดยต้องทายาก่อนนอนในบริเวณที่เหงื่อออกมากแล้วล้างออกตอนเช้า

 

วิธี 3 การฉีดโบทอกซ์

แพทย์อาจฉีดโบทอกซ์หรือสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ เพื่อกดการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ โดยแพทย์ต้องฉีดยาซ้ำๆ ในบริเวณที่มีอาการ เช่น รักแร้ มือ หรือเท้า ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้นานประมาณ 6-12 เดือน โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชั่วคราวในบริเวณที่รักษา

 

วิธี 4 การผ่าตัดหรือการจี้ปมประสาท

หากรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล แพทย์อาจผ่าตัดจี้ทำลายปมประสาทบริเวณรักแร้ที่กระตุ้นการหลั่งเหงื่อ หรือผ่าตัดจี้ปมประสาทไขสันหลังที่กระตุ้นการหลั่งเหงื่อบริเวณมือ แม้เป็นวิธีที่ได้ผลดีแต่มักทิ้งรอยแผลเป็นไว้และอาจทำให้ผู้ป่วยมีเหงื่อออกมากบริเวณอื่นๆ อย่างตามหน้าอกและใบหน้าได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีเหงื่อออกมากบริเวณศีรษะและใบหน้าไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้


การป้องกันและดูแลตัวเองจากการเหงื่อออกเยอะผิดปกติ

ภาวะเหงื่อออกเยอะผิดปกติไม่มีวิธีป้องกันที่ชัดเจน แต่มีวิธีที่ช่วยให้เหงื่อออกน้อยลงเพื่อป้องกันปัญหาผิว เช่น ผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา และปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ที่จะตามมาได้ สามารถป้องกันได้ดังนี้



ครีมอาบน้ำ

วิธี 1 อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่ปราศจาคน้ำหอม อย่าง Eucerin pH5 WASH LOTION PERFUME FREE PARABEN FREE เพื่อทำความสะอาดและถนอมผิว ช่วยคงความสมดุลของชั้นปกป้องผิว ซึ่งมีส่วนผสมเฉพาะของ pH5 Enzyme protection นวัตกรรมเฉพาะจาก Eucerin ช่วยทำความสะอาดผิวได้อย่างอ่อนโยน เหมาะสำหรับผิวแห้ง บอบบาง แพ้ง่ายเป็นพิเศษ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคผิวหนังที่มีอาการแห้ง แพ้ง่ายเป็นพิเศษ


ครีมสูตรอ่อนโยน ที่ปกป้องผิวที่แห้ง

หลังอาบน้ำเสร็จควรบำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ช่วยปรับและคงสมดุลผิว ให้ผิวสุขภาพดี Eucerin pH5 DRY SENSITIVE SKIN HYDRO BOOST CREAM ตัวช่วยดูแลผิว เนื้อเจลครีมสูตรอ่อนโยน ที่ปกป้องผิวที่แห้ง ให้กลับมาชุ่มชื่นยาวนาน 24 ชั่วโมง ด้วย pH Balance System ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของยูเซอริน ช่วยปรับสมดุลสภาพแวดล้อมในเซลล์ให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ สุขภาพดี พร้อมบำรุงอย่างล้ำลึก ซึ่งจะช่วยให้ผิวแข็งแรงมากขึ้น ผิวจึงไม่ไวต่อปัจจัยกระตุ้นต่างๆ พร้อมผสาน Dexpanthenol และ Seed Oil ที่ช่วยเติมความชุ่มชื้นให้ผิวทันที และคงความชุ่มชื้นยาวนานตลอดทั้งวัน และสามารถทาบำรุงผิวกายเป็นประจำทุกวัน

ครีมบำรุงผิวสำหรับผิวแพ้ง่าย

วิธี 2 เสริมความสมดุลให้ผิวแข็งแรงเพื่อทนต่อปัจจัยกระตุ้น ที่ทำให้เกิดอาการแพ้

อย่างการใช้ Eucerin OMEGA BALM LIGHT TEXTURE บาล์มบำรุงผิวหน้าและผิวกาย เนื้อบางเบาและมีสารสกัดจากธรรมชาติ ที่ออกแบบมาเพื่อการฟื้นบำรุงผิวแพ้ง่ายให้มีสุขภาพดีและแข็งแรงขึ้น รวมไปถึงการช่วยบรรเทาอาการแพ้จากโรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ จากการเหงื่อออกมาก ด้วย Licochalcone A และเติมความชุ่มชื้นด้วยไขมันจำเป็นอย่าง Omega 3&6 ให้ผิว ไม่มีส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดการระคายเพิ่มขึ้น สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้กับผิวเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิด เพราะไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และสารระคายเคืองต่างๆ

 

วิธี 3 ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย

ที่ผสมสารลดเหงื่อจำพวกอะลูมิเนียมคลอไรด์ทั้งในระหว่างวันและก่อนนอน เพื่อช่วยปิดต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ มือ เท้า หรือศีรษะชั่วคราว

 

วิธี 4 สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากใยธรรมชาติ

เสื้อผ้าจากใยธรรมชาติมีคุณสมบัติที่ช่วยระบายเหงื่อได้ดี ใส่เสื้อผ้าที่ออกแบบมาให้ช่วยระบายเหงื่อเมื่อออกกำลังกาย และใช้ผ้าคอยซับเหงื่อเพื่อไม่ให้เสื้อผ้าเปียกชุ่ม รวมถึงการ สวมใส่รองเท้าที่ผลิตจากหนังสัตว์ซึ่งระบายเหงื่อได้ดีและช่วยป้องกันเท้าเหม็นได้ รวมทั้งควรถอดรองเท้าทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เพื่อให้ไม่เกิดการหมักหมม

 

วิธี 5 หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางชนิด

ร้อนอย่างชาและกาแฟ รวมทั้งแอลกอฮอล์และอาหารรสเผ็ด เพราะอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของเหงื่อ

 

หากสังเกตุตัวเองแล้วว่ามีอาการเหงื่อออกเยอะมากผิดปกติ อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ที่สำคัญต้องไม่ลืมดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันไม่ให้เหงื่อออกเยอะจนกระทบสุขภาพผิวนำไปสู่โรคผิวหนังที่จะตามมาได้